Messenger

10 วิธีปกป้องธุรกิจของคุณจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

/

10 วิธีปกป้องธุรกิจของคุณจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

cybersecurity tips

10 วิธีปกป้องธุรกิจของคุณจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

เทคโนโลยีในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทั้งเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์และเทคโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและทวีความอันตรายเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่สำคัญที่ทุกคนควรให้ความสำคัญและไม่ควรมองข้าม ดังนั้น บทความนี้ TechSpace จะนำเสนอทริคดีๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถปกป้องข้อมูลส่วนตัวและรักษาความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ของคุณจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้

 

1. อัปเดตโปรแกรมให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ

อัปเดตโปรแกรม และระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสทอ เพื่ออัปเดตระบบความปลอดภัยให้เป็นรุ่นล่าสุดเพื่อลดช่องโหว่และเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบและอุปกรณ์ โดยมีวิธีทำได้ง่ายๆ ดังนี้

  • เปิดการอัปเดตซอฟต์แวร์อัตโนมัติ (Automatic Updates)
  • ใช้เว็บเบราว์เซอร์ที่มีการอัปเดตระบบความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอช่วยลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น Chrome หรือ Firefox
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าปลั๊กอินของเบราว์เซอร์ (Flash, Java ฯลฯ) อัปเดตอยู่เสมอ

 

2. ใช้รหัสผ่านที่รัดกุม คาดเดายาก

การใช้รหัสผ่านที่รัดกุม ยากต่อการคาดเดา จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ รหัสผ่านที่ปลอดภัย ควรมีลักษณะ ดังนี้

  • ควรมีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษร
  • มีทั้งตัวอักษร สัญลักษณ์ และตัวเลข
  • หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นเฉพาะเจาะจงมาใช้ในการตั้งรหัสผ่าน
  • หลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ (PII)

การสร้างรหัสผ่านที่มีความปลอดภัย แม้จะทำให้ยากต่อการจำรหัสผ่านไปบ้าง แต่ก็สามารถใช้แอปพลิเคชันในการช่วยจัดการรหัสผ่าน เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บและจัดการรหัสผ่านต่างๆ เป็นตัวช่วยที่สามารถจัดระเบียบรหัสผ่านได้อย่างปลอดภัย และไม่ต้องกังวลว่าจะหลงลืมรหัสผ่านอีกด้วย

 

3. ระวังการถูกโจมตีแบบ Phishing

การหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง (Phishing) เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่น่ากลัวเป็นอย่างมากในปัจจุบัน Phishing เป็นการล้วงข้อมูลด้วยวิธีทางสังคม (Social Engineering) โดยเล่นกับจิตใจด้วยวิธีทางจิตวิทยาที่หลากหลาย หลอกล่อให้เหยื่อหลงเชื่อจนให้ข้อมูลที่สำคัญไป เช่น ข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ข้อมูลการเข้าสู่ระบบ ID และ Password ข้อมูลธนาคาร หรือข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น

  • การหลอกลวงและการโจมตีแบบฟิชชิ่ง สามารถโจมตีได้ทั้งจากทางโทรศัพท์ ข้อความ หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ โดยเฉพาะทางอีเมล
  • อย่าหลงเชื่อข้อความจากอีเมลหรือจากโทรศัพท์ ที่พยายามขอข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลทางการเงิน

การโจมตีแบบฟิชชิ่ง ถือเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่น่ากลัวและพบบ่อยมากในปัจจุบัน มิจฉาชีพหรือผู้ไม่หวังดีมีการหลอกล่อเหยื่อโดยการนำข้อมูลส่วนตัวของเหนื่อมาใช้เพื่อดูน่าเชื่อถือ เช่น ข้อมูลของครอบครัวของคุณ เพื่อน หรืองานอดิเรกต่างๆ

วิธีในการรับมือกับการโจมตีแบบ Phishing คือการใช้วิธี SLAM

  • SSender: ตรวจสอบที่อยู่อีเมลของผู้ส่ง
  • LLinks: ตรวจสอบทุกลิงก์ก่อนคลิก
  • AAttachments: ไม่เปิดไฟล์แนบจากบุคคลที่ไม่รู้จัก หรือไฟล์แนบที่ดูแปลกและไม่เกี่ยวกับคุณ
  • MMessage: ตรวจสอบเนื้อหาของข้อความ และระวังหากมีการใช้ไวยากรณ์ผิดหรือสะกดผิด

 

4. Multi-factor Authentication (MFA)

Multi-factor Authentication (MFA) คือ การใช้ปัจจัยหลายๆอย่าง เพื่อตรวจสอบและยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานแอปพลิเคชันขององค์กรหรือแอปพลิเคชันส่วนบุคคล จำเป็นต้องมีการเปิดใช้งาน MFA เพื่อตรจสอบและยืนยันว่าบุคคลที่กำลังจะเข้าสู่ระบบมีสิทธิในการเข้าถึงจริงๆ เพื่อป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์สวมรอยและเข้าสู่เครือข่ายของคุณได้

 

5. คิดให้ดีก่อนคลิก

หลีกเลี่ยงการเข้าเว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก หรือหลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ จากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะโปรแกรมที่โหลดจากเว็บไซต์เหล่านี้มักจะมีมัลแวร์ติดมาด้วย เมื่อคุณติดตั้งโปรแกรม มัลแวร์ก็จะถูกติดตั้งบนอุปกรณ์ของคุณโดยอัตโนมัติโดยที่คุณอาจไม่ทันรู้ตัว ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้อุปกรณ์ของคุณเกิดความเสียหายได้

อีกกรณีหนึ่งที่พบมาก คือ การมีไฟล์หรือลิงก์ที่น่าสงสัยแนบมากับอีเมล ซึ่งมักจะเป็นแสปม หรือ phishing ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องคิดให้ดีก่อนคลิกลิงก์หรือไฟล์ใดๆ

องค์การมาตรฐานสากล หรือ ISO ได้แนะนำให้ใช้ปลั๊กอินเสริม Click-to-Play หรือ NoScript บนบราวเซอร์ ซึ่งจะช่วยป้องกันการดาวน์โหลดปลั๊กอินอัตโนมัติ (เช่น Java, Flash) หรือสคริปต์ที่อาจมีโค้ดที่อันตรายได้

 

6. อย่าทิ้งอุปกรณ์ของคุณไว้โดยไม่มีผู้ดูแล

ความปลอดภัยทางกายภาพของอุปกรณ์ มีความสำคัญมากพอๆ กับความปลอดภัยทางเทคนิค หากจำเป็นต้องทิ้งอุปกรณ์ไว้โดยไม่มีใครดูแลจริงๆ ลองใช้วิธีดังนี้ ในการเพิ่มความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ของคุณ

  • หากจำเป็นต้องวางอุปกรณ์จำพวกแลปท็อป โทรศัพท์ หรือแท็บเลต ให้ล็อคเครื่องเพื่อไม่ให้ผู้อื่นสามารถใช้อุปกรณ์ของคุณได้
  • หากคุณเก็บข้อมูลไว้ใน flash drive หรือ external hard drive จงตรวจสอบให้ดีว่าคุณได้ตั้งรหัสผ่านล็อคไดรฟ์เอาไว้เรียบร้อยแล้ว
  • สำหรับอุปกรณ์เดสก์ท็อปตั้งโต๊ะ อย่าลืมที่จะล็อคหน้าจอ หรือชัตดาวน์ เมื่อไม่ใช้งาน

 

7. ใช้ VPN

เครือข่ายส่วนตัวเสมือน หรือ VPN (Virtual Private Networks) เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายและข้อมูล ให้กับพนักงานที่ต้องทำงานจากระยะไกล และต้องการเข้าถึงทรัพยากรจากสถานที่ต่างๆ โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายทั้งสองเครือข่ายเฉพาะกิจบนอินเตอร์เน็ต นำไปปรับใช้กับ Wi-Fi สาธารณะ ตามสถานที่ต่างๆ เช่น สนามบิน โรงแรม หรือร้านกาแฟ โดยที่ หากไม่ใช้ VPN มีโอกาสที่สามารถทำให้ข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ตของคุณรั่วไหลได้อย่างง่ายดาย ซึ่งแฮกเกอร์หรือผู้ไม่หวังดี สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการโจมตีคุณได้

 

8. ใช้โทรศัพท์มือถืออย่างปลอดภัย

ลองคิดดูว่า โทรศัพท์มือถือมีความสำคัญมากเพียงใดต่อการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบัน และจะเป็นอย่างไรหากโทรศัพท์ของคุณจะถูกโจมตีจากภัยคุกคามต่างๆ ที่อยู่รอบตัวมากมายในปัจจุบัน ดังนั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำให้โทรสํพท์ของคุณสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด

  • ล็อคอุปกรณ์โทรศัพท์ของคุณด้วย PIN หรือรหัสผ่าน อย่าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการป้องกัน
  • ติดตั้งแอปพลิเคชันต่างๆ จากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น (Apple AppStore, Google Play)
  • อัปเดตระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ
  • อย่าคลิกลิงก์หรือไฟล์แนบจากอีเมลหรือข้อความที่ไม่พึงประสงค์
  • หลีกเลี่ยงการส่งหรือจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลบนอุปกรณ์โทรศัพท์
  • อุปกรณ์มือถือส่วนใหญ่สามารถใช้การเข้ารหัสข้อมูลได้ ลองดูคู่มือเพื่อตั้งค่าการเข้ารหัสข้อมูล
  • ใช้เครื่องมือ Find My iPhone ของ Apple หรือ Android Device Manager ของอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการ android เพื่อช่วยในการตามหาอุปกรณ์เมื่อเกิดการสูญหายหรือโดนขโมย

 

9. ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส

ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัสจากแหล่งที่เชื่อถือได้ จะช่วยป้องกันอุปกรณ์ของคุณจากภัยคุกคาม อย่าลืมที่จะอัปเดตโปรแกรมให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีช่องโหว่ในการโจมตี และมั่นใจได้ว่าปรแกรมแอนตี้ไวรัสนั้นยังสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

10. สำรองข้อมูลอยู่เสมอ

ในกรณีที่คุณตกเป็นเหยื่อของการโจมตีทางไซเบอร์ วิธีเดียวที่จะสามารถนำคอมพิวเตอร์เครื่องที่ถูกโจมตีกลับมาใช้งานได้คือ การลบข้อมูลและติดตั้งระบบใหม่ทั้งหมด ดังนั้น หากคุณไม่ได้ทำการสำรองข้อมูลไว้ ข้อมูลที่สูญหายอาจมีผลกระทบต่อการทำงานของคุณ จึงควรหมั่นสำรองข้อมูลของคุณเป็นประจำ

 

Tips & Tricks ง่ายๆ สำหรับปกป้องธุรกิจของคุณให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

cybersecurity tips

หากสนใจหรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยให้อุปกรณ์ในองค์กรของคุณ สามารถติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาฟรี ได้ที่

คลิก >m.me/TechSpaceIT

Line : คลิก > https://page.line.me/techspace  หรือ @line : @TechSpace

Tel. 02-381-9075

www.techspace.co.th