Messenger

Cyber Security ปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

/

Cyber Security ปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

Cyber Security: protect your company from cyber-attrack

Cyber Security ปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

 

Cyber security คืออะไร?

Cyber security หรือ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นกระบวนการและเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องเครือข่ายคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์ โปรแกรมและข้อมูลสำคัญไม่ให้ถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ถูกทำลายหรือโจมตีรูปแบบอื่น ๆ โดยผู้ไม่หวังดี ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการลดความเสี่ยงและสร้างความปลอดภัยในระบบไซเบอร์ขององค์กรและผู้ใช้ทั่วไป โดยมีการใช้เทคโนโลยีและมาตรการต่าง ๆ เช่น ระบบไฟร์วอลล์ การเข้ารหัสข้อมูล การตรวจจับการบุกรุก และมาตรการความปลอดภัยอื่น ๆ เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและระบบดิจิทัลที่ใช้ในองค์กรและชีวิตประจำวัน

 

ความสำคัญของ Cyber Security

การรักษาความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เนื่องจากองค์กรมีการรวบรวม ประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากบนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้มักเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจถูกเข้าถึงหรือเปิดเผยได้โดยไม่ได้รับอนุญาต การส่งข้อมูลที่มีความสำคัญข้ามเครือข่ายและอุปกรณ์ในการทำธุรกิจจะทำให้เพิ่มโอกาสในการถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้

 

ในปัจจุบันการโจมตีทางไซเบอร์และการสอดแนมทางดิจิทัลเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดต่อการทำธุรกิจ เนื่องจากมีความซับซ้อนมากขึ้นอาจส่งผลกระทบทางลบต่อองค์กรได้ เช่น ขาดทุนทางการเงิน ความเสียหายในการดำเนินธุรกิจ และความเสียหายต่อชื่อเสียงขององค์กร ดังนั้น การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นกุญแจสำคัญที่จะปกป้องข้อมูลและรักษาความน่าเชื่อถือขององค์กรในวงกว้าง

 

การปรับใช้ Cyber Security ในองค์กรขนาดเล็กและกลาง (SMEs) 

  1. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยง: ทำการประเมินความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นในองค์กรเพื่อทราบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิดความปลอดภัย
  2. การกำหนดนโยบายความปลอดภัยทางไซเบอร์: กำหนดนโยบายที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายเกี่ยวกับการป้องกันภัยคุกคาม รวมถึงมาตรฐานการใช้งาน และการบริหารจัดการการเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรบุคคล เพื่อลดปัญหาการถูกคุกคามทางไซเบอร์
  3. การอบรมและการฝึกฝน: ฝึกอบรมให้ความรู้พนักงานเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในการใช้งานบนโลกออนไลน์ เช่น ใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์อย่างไรให้ปลอดภัย รวมถึงการอัปเดตข้อมูลตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
  4. การใช้เทคโนโลยีรักษาความปลอดภัย: การติดตั้งและบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์ในทุกอุปกรณ์และเครือข่าย ก็จะช่วยเสริมความปลอดภัยในการใช้งานได้มากยิ่งขึ้น 
  5. การควบคุมการเข้าถึง: ใช้มาตรการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลเพื่อลดความเสี่ยงในการโดนโจมตี
  6. การสำรองข้อมูลสำคัญ: วางแผนการสำรองข้อมูลที่จำเป็นและการคืนค่าที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการนำข้อมูลไปจัดเก็บไว้บนคลาวด์ เช่น ไฟล์เอกสาร ไฟล์ของฝ่ายบุคคล หรือฐานข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ ในระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลจะไม่สูญหาย
  7. การตอบสนองต่อเหตุการณ์ทางไซเบอร์: วางแผนเตรียมรับมืออยู่เสมอ เพื่อเฝ้าระวังและพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ทางไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้น
  8. การประเมินความมั่นคงปลอดภัย: ประเมินและอัปเดตความปลอดภัยของระบบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การใช้งานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

การปฏิบัติตามขั้นตอนและแนวทางทางไซเบอร์เหล่านี้ไม่เพียงช่วยปกป้องข้อมูลและรักษาความน่าเชื่อถือของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร และเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าในการทำธุรกิจกับองค์กรด้วย

 

สำหรับ SMEs การปรับใช้ Cyber Security เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากองค์กรเหล่านี้มักมีทรัพยากรจำกัด แต่ Cyber Security ยังมีความจำเป็นต่อองค์กรไม่แพ้กับบริษัทใหญ่ ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจในความเสี่ยง การสร้างนโยบายและการฝึกอบรมพนักงานจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ 

 

บริการ Cyber Security เป็นหนึ่งในบริการ IT Outsource ที่ช่วยรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ของระบบไอที ซึ่งมีผลช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจในองค์กรให้ทำงานอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

 

หากสนใจบริการ Cyber Security หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยให้องค์กรของคุณ สามารถติดต่อ TechSpace ให้เราช่วยดูแลได้ที่

 

คลิก >m.me/TechSpaceIT

Line : คลิก > https://page.line.me/techspace  หรือ Add Line: @TechSpace

Tel. 02-381-9075

www.techspace.co.th