ด้วยการพัฒนาที่ก้าวประโดดของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เกิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เจ๋ง ๆ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหม่ ๆ และเว็บไซต์อื่น ๆ เกิดขึ้นมากมาย ประกอบกับการมีอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้กว้างขวางมากขึ้น จึงเกิดเป็นสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่เราเองต้องใส่ข้อมูลข้อมูลส่วนบุคคลลงไป
ซึ่งการโพสต์หรือลงข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ นับเป็นสิ่งที่เห็นได้เป็นปกติในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นกับโซเชียลมีเดียที่ จะกิน จะช้อป จะรู้สึกอะไรก็มักจะโพสต์ลง โซเชียลอยู่เสมอ
ผลพวงของการพัฒนาไม่ได้แต่จะนำผลดีเข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้เราเท่านั้น อย่าลืมว่ามีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียตามมาเช่นกัน เหมือนกับเหรียญที่มันมี 2 ด้านนั่นเอง ผลกระทบในด้านลบจากการพัฒนาก็มีเช่นกันในเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคลบนสังคมออนไลน์ ข้อมูลต่าง ๆ ของเรา เพราะ บางครั้งอาจจะถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลจากผู้ไม่หวังดี ที่จะใช้ช่องว่างของเทคโนโลยีมาก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อนำข้อมูลส่วนตัวบางอย่างจากเราไปได้ อาจจะมาในรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ไวรัสคอมพิวเตอร์ เวิร์ม ม้าโทรจัน หรือโปรแกรมเรียกค่าไถ่ เป็นต้น
ในสังคมออนไลน์ มีผู้ไม่หวังดีอยู่มากที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือไปใช้ในทางเสียหาย ถึงแม้จะมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ก็อาจจะไม่เพียงพอ เท่ากับการป้องกันข้อมูลของเราด้วยระบบ IT Security ที่แข็งแกร่ง และมีประสิทธิภาพ ก่อนจะเกิดเหตุที่ร้ายแรงไปมากกว่านี้
ทำความเข้าใจกับ Privacy หรือความเป็นส่วนตัว
“ความเป็นส่วนตัว” หรือ Privacy ถูกนิยามขึ้นว่า เป็นสิทธิของแต่ละบุคคล กลุ่ม หรือองค์กร ในการตัดสินใจว่า ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจะถูกเปิดเผยต่อบุคคลอื่นเมื่อใด อย่างไร และมีขอบเขตมากน้อยเพียงใด ซึ่งความเป็นส่วนตัวนั้นนับเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่แต่ละประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญมาก
ความเป็นส่วนตัวของนั้นมีความหมายที่ค่อนข้างกว้างและครอบคลุมถึงสิทธิอื่น ๆ ที่สำคัญ คือ ความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูล (Information Privacy), ความเป็นส่วนตัวในชีวิตร่างกาย (Bodily Privacy), ความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสื่อสาร (Communication Privacy) และความเป็นส่วนตัวในเคหสถาน (Territorial Privacy)
ข้อมูลสำคัญที่เราควรระมัดระวัง และไม่ควรที่จะแพร่งพรายหรือไปพูดให้คนอื่นฟังก็คือ ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็น ชื่อ เลขบัตรประชาชน อายุ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รหัสเข้าอีเมล รหัสบัตรเครดิต หรือจะเป็นข้อมูลที่เป็นความลับภายในองค์กร เช่น ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นของคู่ค้า ลูกค้า หรือคู่แข่งก็ตาม
การจัดการระบบไอที เพื่อให้ Privacy ยังคงอยู่
แน่นอนว่าความปลอดภัยของข้อมูล ทวีความเสี่ยงและอันตรายมากขึ้นทุกวัน แต่เชื่อว่าหลาย ๆ คน หลาย ๆ องค์กรจะให้ความสำคัญกับเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมมากขึ้น เพราะการป้องกัน เพียงแต่การตั้งรหัส หรือการป้องกันจากบุคคลทั่วไป ย่อมไม่ได้เพิ่มความมั่นคงให้กับข้อมูลของเราเท่ามากไหร่นัก ในด้านของ IT Security จึงต้องมีการป้องกันไว้อยู่เสมอ โดยทาง TechSpace ได้ยกประเด็นที่จะช่วยให้ข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลสำคัญภายในองค์กรของคุณปลอดภัยมากขึ้นมาฝากกัน
ประการแรก ควรมีการพัฒนาและอัปเดตแพตซ์ หรือโปรแกรมที่ใช้ซ่อมแซมจุดบกพร่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือปรับปรุงข้อมูลสำหรับโปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้งานประสิทธิภาพให้ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มความมั่นคงและความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้อีกด้วย
ประการที่สอง การติดตั้งโปรแกรม Antivirus เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสมัลแวร์ที่พร้อมโจมตีระบบหรือฐานข้อมูลของเราได้ทุกเวลา เมื่อมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต หรือเข้าเว็บไซต์แปลก ๆ ต้องป้องกันไว้ก่อน ตราบใดที่คุณมีข้อมูล เพราะเหล่า Hacker พร้อมที่จะขโมยข้อมูลจากคุณไปได้ทุกเวลา ไม่เพียงแต่การขโมยข้อมูลเท่านั้น เพราะมันอาจทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายได้อีกด้วย
ประการที่สาม การวางระบบ Network Security – Firewall ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้กับระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยกรองข้อมูลได้ว่า ข้อมูลนี้มาจากใคร จะไปทำอะไร และกำลังจะไปที่ไหน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่วางไว้ หาก Firewall ตรวจพบว่าข้อมูลที่ส่งมานั้นมีความเสี่ยงสูงและเป็นอันตรายต่อระบบ มันก็จะทำหน้าที่กันไม่ให้ข้อมูลเหล่านั้นเข้าไปในระบบได้
ประการที่สี่ ควรให้ความสำคัญกับการตั้งรหัสผ่าน ไม่ควรใช้รหัสผ่านเหมือนกันกับทุกเว็บไซต์ และห้ามใช้คำสำคัญหรือข้อมูลส่วนตัวลงในรหัสผ่าน พยายามใช้สัญลักษณ์หรือตัวเลขในรหัสผ่าน หรืออาจจะใช้โปรแกรมจัดการรหัสผ่าน อย่าง LastPass หรือ 1Password ที่จะสุ่มรหัสผ่านขึ้นมา และรหัสเหล่านั้นจะถูกเก็บไว้ในพื้นที่ที่ถูกเข้ารหัสเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลของคุณอีกชั้นหนึ่ง
ประการสุดท้าย ต้องตรวจสอบที่มาของเว็บไซต์ให้ดี โดยสังเกตได้จากแถบแอดเดรสข้างบน (https://) เพื่อป้องกันการเข้าเว็บไซต์ปลอมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกล่อผู้ใช้งาน
เมื่อ Privacy ของข้อมูลส่วนบุคคลกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนควรหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับมันอยู่เสมอ เพราะปัจจุบันอินเทอร์เน็ตอยู่รอบ ๆ ตัวเราและสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น ฉะนั้นเราทุกคนถือว่ามีความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ สิ่งสำคัญคือเราต้องมีความรู้เบื้องต้นในการป้องกันตนเอง ควบคู่ไปกับการจัดการระบบไอทีบนคอมพิวเตอร์ หรือบนโทรศัพท์มือถืออย่างรอบคอบและรัดกุม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงและความปลอดภัยให้กับข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลขององค์กรห่างไกลจากอาชญากรทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้
TechSpace บริษัท IT Outsource Services ในประเทศไทย ที่พร้อมให้คำแนะนำและบริการเกี่ยวกับระบบ IT Security อย่างครบวงจร โดยให้บริการในรูปแบบ Case by Case เนื่องจากความเสี่ยงของผู้ใช้งานแต่ละรายไม่เหมือนกัน รวมถึงมีการบริการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที หากเกิดปัญหาไวรัสเข้าโจมตีข้อมูลของคุณ
สามารถติดต่อได้ที่
Facebook: m.me/TechSpaceIT
Line : @techspace
Tel. 02-381-9075