Messenger

เพิ่ม RAM ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ แก้ปัญหาโน๊ตบุ๊คช้า

/

เพิ่ม RAM ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ แก้ปัญหาโน๊ตบุ๊คช้า

เพิ่ม RAM ได้ง่ายๆ ฉบับทำได้ด้วยตัวเอง

เมื่อไรก็ตามที่เรารู้สึกว่าโน๊ตบุ๊คช้า หรือหน่วง เดาได้เลยค่ะว่าอาจจะเกิดจากการที่พื้นที่ ram ไม่พอนั่นเอง ซึ่งปัญหานี้นั้น มาจากการที่เราเปิดโปรแกรมหลายๆโปรแกรมทำงานพร้อมกัน ทำให้หน่วยความจำเยอะจนอาจจะเต็ม และส่งผลให้โน๊ตบุ๊คช้าในที่สุด ซึ่งแน่นอนว่า นอกจากจะสร้างความรำคาญใจแล้ว ยังทำให้การทำงานที่ลื่นไหลมาโดยตลอดนั้น กลายเป็นสะดุดและช้าลงเรื่อยๆนั่นเองค่ะ

แต่จริงๆแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถแก้ไขได้นะ ในเมื่อพื้นที่ ram มันเต็ม เราก็เพิ่ม ram มันซะเลย แถมยังทำเองได้ด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ 

1.Disable Program บน Startup: เปิดส่วน Startup (กด Ctrl+Shift+Del) จากนั้นเลือกแท็ป Startup แล้วคลิกขวาบนโปรแกรมบางอย่างที่ไม่จำเป็น สังเกตดูว่า โปรแกรมไหนที่เปิดเครื่องขึ้นมาแล้วไม่ได้ใช้งานทันที 2-3 ชั่วโมง จากนั้นเลือก Disable บางโปรแกรมที่ทำการรันอยู่ตลอดเวลา ทั้งที่ไม่ใช้งาน ก็ควรปิดไปได้เลย แต่การเพิ่ม ram วิธีนี้ โปรดจำไว้เสมอว่า ไม่ควรยุ่งกับ Windows service เพื่อความปลอดภัยนะคะ

2.ปิดเอกเฟกต์และลูกเล่นต่างๆ: เช่น ภาพเคลื่อนไหว, ภาพ Background, peek เฟดหน้าเมนู รวมไปถึงเงาหรือแสงของบรรดาไอคอนต่างๆ โดยเบื้องต้น เข้าไปที่ Personalized โดยการคลิกขวาหน้า Destop จากนั้นเลือก Background แล้วเลือก Solid Color ถือเป็นการเพิ่ม ram ได้ไม่มากก็น้อยค่ะ 

3.ปิดการทำงานของแอนิเมชัน: เป็นวิธีการเพิ่ม ram ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบได้มากขึ้น โดยสามารถปิดเอฟเฟกต์หรือแอนิเมชันในภาพรวมในง่ายที่สุด โดยเข้าที่ System > Advanced system settings > ในหน้า System Properties เลือกแท็ป Advanced > Performance และ Settings โดยปกติในหัวข้อ Visual Effect ค่าพื้นฐานของระบบ จะอยู่ที่ Let Windows choose what’s best for my computer กรณีนี้เราต้องการลดการใช้ทรัพยากรของระบบ ให้เลือก Adjust for best performance

หรือจะเข้าไปที่ Simplify and personalized windows เพื่อปิดการใช้งานแอนิเมชันในเบื้องต้น ซึ่งอาจจะไม่มีรายละเอียดให้เลือกเหมือน Visual Effect แต่ก็เป็นวิธีการเพิ่ม ram ที่ง่าย หากต้องการเปิด-ปิดแบบเร่งด่วน 

4.เลือกพื้นที่ Virtual Memory: หากอุปกรณ์มีแรมน้อย ก็สามารถจัดการเพิ่ม ram ได้ โดยการแบ่งเบาภาระไปที่ Storage ในกรณีที่คุณมีพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์มากพอ หรือมีไดรฟ์ทั้ง SSD & HHD แต่ SSD มีความจุน้อย ก็อาจจะเลือก HDD ที่ใช้ในการสำรองข้อมูลมาร่วมใช้งานได้ ด้วยการเข้าไปที่ ให้เข้าไปที่ System > Advanced system settings > ในหน้า System Properties เลือกแท็ป Advanced > Performance และ Settings จากนั้นเมื่อเข้าหน้า Performance Options ให้ไปที่แท็ป Advanced แล้วคลิกที่ Change ในหัวข้อ Virtual memory

หลังจากเข้าไปที่ ‘Virtual memory แล้ว ให้ใส่เครื่องหมายถูกตรง Automatically manage paging files size for all drives จากนั้นจะทำการตั้งค่าได้ โดยเลือก Custom size หากมาถึงตรงนี้ จะทำการปรับค่าของ Virtual memory 

 

ซึ่งวิธีการในการปรับ ‘Intial size’ ตามความเหมาะสม และ ‘Maximum size’ ควรจะเป็น 3 เท่าของหน่วยความจำหลัก เช่น แรม 4GB ก็ใส่ 12GB เมื่อเสร็จแล้วให้เลือก Set ตามมาด้วยการ OK ระบบจะทำการรีบูทเพื่อเซ็ตค่าดังกล่าวให้สมบูรณ์ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีเพิ่ม ram แก้ปัญหาโน๊ตบุ๊คช้าได้เช่นกันค่ะ 

5.ลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้หรือทำงานซ้ำซ้อน: โปรแกรมเหล่านี้จะทำให้อุปกรณ์ทำงานหนักขึ้น เช่น โปรแกรมต่างๆที่ไม่ได้ใช้งาน แต่มีการรันอัปเดตอยู่เรื่อยๆ ทำให้เปลืองพื้นที่ ram และส่งผลให้โน๊ตบุ๊คช้าในที่สุด โดยสามารถจัดการได้ คือเข้าไปที่หน้า Program/Uninstall แล้วเลือกโปรกรมที่ดูใช้งานซ้ำซ้อน รวมถึงสิ่งที่ไม่ได้ใช้งานออกไป แค่นี้ก็เพิ่ม ram ได้ง่ายๆแล้วค่ะ

 

ขอบคุณที่มา: notebookspec.com

 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีการเพิ่ม ram แบบง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง หากอุปกรณ์มีพื้นที่ความจำที่เยอะขึ้น ปัญหาโน๊ตบุ๊คช้าก็จะหมดไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากไม่จำเป็น ก็ไม่ควรเปิดใช้หลายๆโปรแกรมพร้อมกัน เพราะนั่นถือเป็นสาเหตุแรกๆที่ทำให้ความจำไม่พอ จนโน๊ตบุ๊คช้านั่นเองค่ะ อย่างไรก็ตาม ลองนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะคะ 🙂

และหากใครที่กำลังมองหา IT Support ที่จะมาช่วยจัดการทุกปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายไอทีต่างๆ สามารถติดต่อ TechSpace เพื่อขอคำปรึกษาและคำแนะนำในส่วนนี้ได้เลยค่า

สามารถติดต่อได้ที่

m.me/TechSpaceIT

Line : @TechSpace

☎ Tel. 02-381-9075

🌎 www.techspace.co.th