Messenger

ปกป้องและจัดเก็บข้อมูลใน Server (เซิร์ฟเวอร์) ให้ปลอดภัย

/

ปกป้องและจัดเก็บข้อมูลใน Server (เซิร์ฟเวอร์) ให้ปลอดภัย

ดูแลServer เซิร์ฟเวอร์

ปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กร ด้วยการจัดเก็บใน Server (เซิร์ฟเวอร์)

ข้อมูลขององค์กร ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่ทุกคนควรใส่ใจและช่วยกันปกป้อง ทั้งนี้ วิธีการเพิ่มความปลอดภัยให้ข้อมูลนั้น สามารถทำได้ด้วยกันหลากหลายช่องทาง หนึ่งในนั้นคือ Server (เซิร์ฟเวอร์) นั่นเองค่ะ

Server (เซิร์ฟเวอร์) คืออะไร ?

Server (เซิร์ฟเวอร์) คือ คอมพิวเตอร์เครื่องหลักในระบบ Network ทำหน้าที่ควบคุมคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายเดียวกัน โดยมีหน้าที่จัดการคอมพิวเตอร์ ในส่วนของการ ขอใช้อุปกรณ์, โปรแกรม และแฟ้มข้อมูล  รวมไปถึง Server ก็ทำหน้าที่เก็บข้อมูลอีกด้วย 

วิธีปกปกป้องข้อมูลบน Server สามารถทำได้อย่างไร ?

  1. ตั้งค่า Firewall ทั้ง Hardware และ Software

ทุกๆองค์กรย่อมมีการใช้งาน Firewall ซึ่งอาจจะมีได้ทั้งในรูปแบบของฮาร์ดแวรและซอฟต์แวร์ โดยการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดนั้น ต้องมีการตั้งค่าอย่างรัดกุม  โดยหมายถึงการอนุญาตพอร์ต บริการ หรือไอพีที่ใช้ ซึ่งควรยึดเป็น Deny All ไว้ เพื่อป้องกันสิ่งที่เราไม่รู้ หรือไม่แน่ใจ นอกจากนั้น จะต้องสังเกต Traffic ทั้งขาเข้าและขาออก และหากมีการเชื่อมต่อรีโมตเข้ามา ควรจะอนุญาตในระดับไอพีต่อบริการต่าง  จะดีที่สุด

  1. ใช้งาน Remote Access ผ่าน VPN

การเปิดบริการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต ถือเป็นเรื่องที่ควรระวัง เพราะจากการรายงานข่าวส่วนใหญ่ จะเห็นได้ว่า แฮกเกอร์สามารถมองหาเหยื่อจากการใช้บริการบนโลกออนไลน์ ดังนั้น หากองค์กรจำเป็นต้องเปิดใช้บริการต่างๆผ่านอินเทอร์เน็ต ควรบังคับการเข้าถึงที่มาจาก VPN ซึ่งข้อมูลจะถูกเข้ารหัส เพื่อส่งข้ามอินเทอร์เน็ตมาหาเซิร์ฟเวอร์ ถือเป็นการเพิ่มความมั่นใจ ว่าระหว่างทางส่งข้อมูลนั้นมีความปลอดภัย

  1. บังคับรหัสผ่านให้ยาก และใช้ Multi-Factor Authentication 

เมื่อแฮกเกอร์ ทำการมองหาเหยื่อที่ใช้บริการออนไลน์แล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือการเดาสุ่มรหัส หรือ Brute-Force รหัสผ่าน วิธีป้องกันอีกหนึ่งขั้น คือการตั้งรหัสผ่านให้ยากเข้าไว้ เพื่อลดความน่าจะเป็น ทั้งรหัสผ่านในรูปแบบของการผสมระหว่างตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษ และควรให้ชื่อ Username และ Credential แตกต่างกันทุกบริการ เพราะหากรั่วไหลเพียง 1 Credential นั่นหมายถึงอาจจะลุกลามถึงบริการอื่นๆด้วย

  1. ติดตั้งใช้ SSL Certificate เพื่อปกป้องข้อมูล 

หากมีการให้บริการเว็บไซต์ องค์กรต้องส่งข้อมูลเข้ารหัส แม้แต่เป็นเว็บไซต์ภายใน ก็จำเป็นที่จะต้องมี SSL Certificate เพื่อการันตีว่าข้อมูลที่รับส่งระหว่าง 2 ฝั่ง มีความปลอดภัย และน่าเชื่อถือ

  1. สังเกตและเฝ้าระวัง Log Event 

การหมั่นสังเกต Log ที่แสดงถึง Event ต่างๆ เช่น ข้อความเตือนการผิดพลาด หรือความพยายาม Log in ที่ล้มเหลว อาจบ่งชี้ได้ว่า มีภัยร้ายกำลังใกล้เข้ามา ซึ่งหากเราสังเกต และยับยั้งได้ทัน ก็อาจจะแก้ปัญหาได้ หรือหากแก้ปัญหา ณ ขณะนั้นไม่ทัน อย่างน้อย Log ที่บันทึกไว้ ยังช่วยบ่งบอกได้ว่าแฮกเกอร์เข้ามาช่องทางไหน และได้ทำอะไรกับข้อมูลไปแล้วบ้าง 

ขอบคุณที่มา: systems.co.th

Server ถือเป็นอุปกรณ์หนึ่งในด้านไอที ที่ช่วยจัดเก็บข้อมูล รวมไปถึงป้องกันความเสียหาย และเพิ่มความปลอดภัย แต่ทั้งนี้ หากเราทุกคน ให้ความสำคัญ และหมั่นคอยสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น จะช่วยเพิ่มระดับการรักษาข้อมูลได้เป็นเท่าตัวเลยค่ะ

TechSpace ให้บริการ IT Support ดูแลระบบไอทีแบบครบวงจร รวมไปถึงติดตั้ง ดูแล และจัดการ ระบบ Server เพื่อให้ข้อมูลองค์กรของคุณได้รับความปลอดภัย และยังให้คำปรึกษา และแก้ปัญหาที่ตามมาอีกด้วย

 

สามารถติดต่อได้ที่

m.me/TechSpaceIT

Line : @TechSpace

☎ Tel. 02-381-9075

🌎 www.techspace.co.th