Endpoint Security and Next Generation Antivirus (NGAV)
การรักษาความปลอดภัยอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint security) หรือการป้องกันอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint Protection: EPP) เป็นวิธีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อปกป้องอุปกรณ์ปลายทาง เช่น เดสก์ท็อป แล็ปท็อป อุปกรณ์มือถือ จากการทำกิจกรรมต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ โดยตัว EPP มีการพัฒนาขึ้นมาจากโปรแกรมแอนตี้ไวรัส (AV) แบบดั้งเดิม ไปจนถึงการให้การป้องกันที่ครอบคลุมจากมัลแวร์ และภัยคุกคามแบบ zero-day อุปกรณ์ปลายทางเพียงเครื่องเดียว สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการโจมตีเข้าสู่เครือข่ายทั้งหมดขององค์กร เป็นจุดที่อาชญากรทางไซเบอร์ สามารถเข้าถึงเครือข่ายทั้งหมดได้ ด้วย แต่ด้วย Endpoint security protects จะสามารถป้องกันการโจมตีที่เป็นอันตรายจากภัยคุกคามดังกล่าวได้
ทำไมการรักษาความปลอดภัยให้กับ endpoint จึงมีความสำคัญ?
การวางแผนเพื่อป้องกันอุปกรณ์ปลายทางเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันมีการทำงานได้จากทุกที่ ทำให้ทุกอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานแบบรีโมทระยะไกล สามารถเป็นจุดแรกเริ่มของการโจมตีได้ และเมื่อองค์กรมีการเติบโตขึ้น จำนวนอุปกรณ์ที่ทำงานแบบรีโมทระยะไกลก็เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้มีโอกาสการถูกโจมตีได้สูงขึ้น
จากรายงานมูลค่าความเสียหายของเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลประจำปี ดำเนินการโดยสถาบันโพเนมอน ภายใต้การสนับสนุนและวิเคราะห์โดย IBM Security เป็นที่ประมาณการว่า กว่า 70% ของความสำเร็จในการโจรกรรมข้อมูล เกิดขึ้นบนอุปกรณ์ปลายทาง ซึ่งการโจรกรรมแต่ละครั้ง สร้างความเสียหายได้ถึง 3.86 ล้านดอลลาร์ทั่วโลก โดยมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการโจรกรรมข้อมูลของสหรัฐอเมริกา มีค่าเฉลี่ยสูงถึง 8.65 ล้านดอลลาร์ ผลการศึกษายังระบุอีกว่า ผลกระทบทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดจากการโจรกรรมข้อมูลคือ ความเสียหายทางธุรกิจ ที่มากขึ้นถึง 40% ของความเสียหาย จากมูลค่าโดยทั่วไปในโจรกรรมข้อมูล
การป้องกันอุปกรณ์ปลายทางจากการถูกโจมตีต่อภัยคุกคาม ถือเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายเป็นอย่างมาก เนื่องจากการป้องกันอุปกรณ์ปลายทางจากภัยคุกคาม ไม่ได้เกี่ยวกับอุปกรณ์เพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานด้วย ทำให้องค์กรต่างพยายามในการป้องกันองค์กรจากภัยคุกคาม โดยต้องไม่แทรกแซงกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของพนักงาน แม้แนวทางการป้องกันภัยคุกคามด้วยเทคโนโลยีจะมีประสิทธิภาพสูง ทำให้โอกาสที่พนักงานจะถูกล่อลวงจนเปิดช่องโหว่ให้กับผู้ไม่หวังดีเข้ามาโจมตีลดลง แต่ทั้งนี้ ก็ไม่สามารถป้องกันการโดนโจมตีได้อย่างสมบูรณ์แบบ
Endpoint Protection Software vs. Antivirus Software
ซอฟต์แวร์ป้องกันอุปกรณ์ปลายทาง มีไว้ป้องกันการถูกบุกรุก ไม่ว่าจะอุปกรณ์นั้นจะเป็นอุปกรณ์ Physical หรืออุปกรณ์เสมือน (Virtual), อุปกรณ์ On-premise หรือ Off-premise, อุปกรณ์ที่อยู่บน Data Centers หรืออยู่บนคลาวด์ก็ตาม ซอฟต์แวร์ป้องกันอุปกรณ์ปลายทางจะถูกติดตั้งบนอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แล็ปท็อป, เดสก์ท็อป, เซิร์ฟเวอร์, อุปกรณ์เสมือน (Virtual Machines: VM) หรือรวมถึงอุปกรณ์ Remote ด้วยเช่นกัน
แอนตี้ไวรัส (Antivirus) เป็นหนึ่งในวิธีรักษาความปลอดภัยอุปกรณ์ปลายทาง และเป็นขั้นพื้นฐานที่ใช้ในการป้องกัน อุปกรณ์ปลายทาง โปรแกรมแอนตี้ไวรัสจะถูกติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์แต่ละเครื่องโดยติดตั้งได้ทั้งบนอุปกรณ์ที่อยู่ภายในและภายนอกไฟร์วอล แอนตี้ไวรัสแบบดั้งเดิม ยังคงถูกใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยตัวโปรแกรมจะรันในพื้นหลัง เพื่อค้นหาและกำจัดไวรัส รวมถึงมัลแวร์ที่รู้จัก โดยตรวจจับผ่าน Signature หรือ Heuristic-based ที่มีอยู่ในระบบ แตกต่างจากการ ใช้เทคนิคชั้นสูงอย่าง threat hunting หรือ endpoint detection and response (EDR) ที่พบเห็นได้มากใน Next-Generation Antivirus (NGAV)
คุณสมบัติหลักของ Endpoint Protection Solution
เครื่องมือสำหรับการรักษาความปลอดภัยให้กับ endpoint ประกอบด้วย
1. การป้องกันของ Next-generation antivirus (NGAV)
แอนตี้ไวรัสแบบดั้งเดิม ตรวจจับไวรัสหรือการโจมตีได้น้อยกว่าครึ่งของการโจมตีทั้งหมด ตรวจจับอันตรายโดยอาศัยการเปรียบเทียบกับ Signature ที่มีอยู่หรือเทียบกับโค้ดบางส่วนกับฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้ว โดย signature ใหม่ๆ จะถูกอัปเดตลงฐานข้อมูลเรื่อยๆ เมื่อถูกพบมัลแวร์ชนิดใหม่ๆ ทำให้หากอุปกรณ์ endpoint ถูกโจมตีโดยมัลแวร์ตัวใหม่ที่แอนตี้ไวรัสไม่รู้จัก หรือไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูล จะทำให้แอนตี้ไวรัสไม่สามารถตรวจสอบอันตรายนั้นได้พบ อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ในการระบุ signature มัลแวร์ชนิดใหม่และอัปเดตลงฐานข้อมูล แต่ก็อาจจะไม่ทันการณ์หากอุปกรณ์ endpoint ของคุณถูกมัลแวร์ดังกล่าวโจมตีเข้าแล้ว
Next-generation antivirus (NGAV) สามารถปิดช่องโหว่ดังกล่าว โดยการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการป้องกันความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ endpoint เช่น การนำเทคโนโลยี AI และ machine learning มาใช้ในการช่วยระบุมัลแวร์ชนิดใหม่ๆ โดยตรวจสอบจากองค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ให้มากขึ้น เช่น file hashes, URLs, IP addresses เป็นต้น
2. การตรวจจับภัยคุกคามด้วยเทคโนโลยี Endpoint Detection Response (EDR)
ไม่มีการป้องกันใดที่สามารถป้องกันอุปกรณ์ของคุณได้ 100% บ่อยครั้งที่แฮกเกอร์สามารถเจาะระบบรักษาความปลอดภัยและโจมตีเครือข่ายได้สำเร็จ การรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิม จึงไม่อาจตอบโจทย์ต่อภัยคุกคามที่พัฒนาขึ้นทุกวันได้อย่างเรียลไทม์ หากปล่อยให้มีการละเมิดเข้ามาในเครือข่ายขององค์กรบ่อยๆ อาจส่งผลร้ายแรงต่อธุรกิจของคุณได้ องค์กรจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหยุดภัยเงียบดังกล่าว โดยการตรวจค้นและกำจัดภัยคุกคามทุกรูปแบบอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อการป้องกันอย่างทันท่วงที
เพื่อป้องกันภัยคุกคามในปัจจุบันที่พัฒนาอย่างเงียบๆและรวดเร็ว ธุรกิจต่างๆควรมองหาโซลูชันที่สามารถตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามขั้นสูงได้ โซลูชันที่มีความสามารถในการค้นหาและตรวจสอบภัยคุกคาม แจ้งเตือนเมื่อพบภัยคุกคาม ตรวจสอบและปิดกั้นกิจกรรมที่น่าสงสัยและเป็นอันตราย ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าว มีอยู่ใน Endpoint Detection and Response (EDR) เทคโนโลยีในการตรวจสอบและตอบสนองต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์ Endpoint แบบเรียลไทม์
3. การตรวจจับภัยคุกคามเชิงรุก (Threat Hunting)
ไม่ใช่ทุกการโจมตีจะสามารถถูกตรวจจับได้ด้วยระบบอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว แต่ความเชี่ยวชาญของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยก็ถือเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจจับการโจมตีและภัยคุกคามที่ซับซ้อนในปัจจุบันด้วยเช่นกัน
การตรวจจับภัยคุกคามเชิงรุก (Threat Hunting) โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญศึกษาข้อมูลจากภัยคุกคามล่าสุดที่เกิดขึ้น รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการตอบสนองที่ดีที่สุดเมื่อตรวจพบกิจกรรมที่เป็นอันตราย
4. การใช้ประโยชน์จาก Threat Intelligence
เพื่อให้รู้เท่าทันและก้าวนำผู้โจมตี จึงจำเป็นต้องเข้าใจวิวัฒนาการของภัยคุกคาม ภัยคุกคามในปัจจุบันที่มีความซับซ้อนและภัยคุกคามชั้นสูงอย่าง advanced persistent threats (APTs) สามารถเคลื่อนที่และหลบซ่อนได้อย่างว่องไว ผู้ดูแลความปลอดภัยจึงจำเป็นต้องอัปเดตข้อมูล เพื่อทำให้มั่นใจว่าการป้องกันจะสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติและมีความแม่นยำ
การบูรณาการข้อมูลภัยคุกคาม ควรตรวจสอบเหตุการณ์ทั้งหมดและรับความรู้ภายในไม่กี่นาที ไม่ถึงชั่วโมง โดยควรสามารถปรับแต่ง ตัวบ่งชี้การรุกรานได้โดยตรงผ่านตัวอุปกรณ์ปลายทาง เพื่อเปิดใช้งานการป้องกันเชิงรุกสำหรับการโจมตีในอนาคต และควรมีองค์ประกอบที่มาจากมนุษย์เช่นเดียวกัน ประกอบด้วยนักวิจัยด้านความปลอดภัยที่เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์ภัยคุกคาม ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม และนักภาษาศาสตร์ ซึ่งสามารถเข้าใจถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ในบริบทที่หลากหลายได้
ป้องกันอุปกรณ์ endpoint จากไวรัส พร้อมตรวจจับภัยคุกคามใหม่ที่ยาก จะตรวจพบ
ประหยัดเวลาและเงินของพร้อมกับป้องกันความปลอดภัยให้กับ endpoint ของคุณ ให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีมากมาย และเพิ่มมากขึ้นทุกๆวัน ไม่ว่าจะเป็น มัลแวร์ ช่องโหว่ที่มองไม่เห็น สแปม ความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยต่างๆ และ อันตรายจากการโจมตีผ่านทางโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการต่างๆ เช่น Android iOS
ติดต่อเรา ให้ TechSpace ช่วยดูแลความปลอดภัยให้กับ endpoints ของคุณ ผ่านแผงควบคุมที่ง่ายต่อการจัดการพร้อมทั้งเสริมสร้างความปลอดภัยให้เหมาะกับความต้องการธุรกิจของคุณ10 Cybersecurity Tips for your Business
Download our 10 Cybersecurity Tips to help your business boost resilience against cyber attacks
Free Cybersecurity Readiness Assessment
Cybersecurity readiness goes beyond just having a firewall or antivirus program. Find out how your company perform against cybersecurity threats.